ผู้เขียน หัวข้อ: การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คืออะไร ช่องทางไหนน่าสนใจพร้อมศัพท์ที่ต้องรู้  (อ่าน 231 ครั้ง)

siritidaphon

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 37
    • ดูรายละเอียด
ทุกคนน่าจะรู้อยู่แล้วว่าเดี๋ยวนี้ การตลาดออนไลน์ ได้กลายเป็นช่องทางในการทำการตลาดหลักๆ ของแบรนด์ต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยเฉพาะช่วง COVID-19 ที่ใครๆ ก็ต้องหันมาพึ่งช่องทางออนไลน์ แต่หากใครยังไม่แน่ใจว่าช่องทางออนไลน์มีอะไรบ้าง และอะไรเหมาะกับธุรกิจตัวเอง บทความนี้เราจะมาสรุปกันชัดๆ ว่า Online Marketing คืออะไร มีอะไรบ้าง ใช้ประโยชน์อย่างไร รวมถึงคำศัพท์ที่ควรต้องรู้


Online Marketing คืออะไร

Online Marketing หรือ การตลาดออนไลน์ คือ การทำการตลาด หรือลงโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ซึ่งจะสามารถวัดผลได้ (ต่างกับสื่ออฟไลน์ที่วัดผลยาก) ช่องทางขายของออนไลน์ที่เราคุ้นเคย เช่น Facebook, Instagram, LINE, Google, YouTube และอีกมากมาย โดยผู้ที่จะทำการตลาดออนไลน์จำเป็นต้องมีช่องทางออนไลน์ของตัวเองก่อนอย่างน้อย 1 ช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ หรือ Facebook Page เพื่อที่เวลาไปลงโฆษณา หรือไปโปรโมท ลูกค้าจะได้คลิกเข้ามาทำความรู้จักกับธุรกิจ หรือสินค้าของเราได้มากขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือ Facebook Page เราเรียกหน้านี้ว่า Landing Page หรือ Sale Page หรือ Money Page แล้วแต่คนจะเรียก


ประโยชน์ของการตลาดออนไลน์ (Online Marketing)

ประโยชน์ของ การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คือ

1.    วัดผลได้: การทำการตลาดออนไลน์สามารถวัดผลได้ ต่างจากกับออฟไลน์ที่จะวัดผลได้ยาก โดยการวัดผลก็จะดูที่การคลิก แหล่งที่มาของคลิก (Source) ซึ่งหากจะดูอย่างชัดเจนต้องใช้เครื่องมือเข้ามาจับข้อมูล เช่น Google Analytics หรือหากต้องการวัดผลการคลิกง่ายๆ ก็ใช้ bitly ได้เช่นกัน ซึ่งหากต้องการวัดผลเชิงลึก จะสามารถวัดได้ถึงยอดขายที่เกิดขึ้น และนำไปคำนวณ ROAS (Return on Ads Spend) ได้เลย

2.    กำหนดงบโฆษณาได้ : การทำการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) สามารถกำหนดงบโฆษณาได้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นโฆษณา Google หรือ Facebook ก็สามารถกำหนดได้เลยว่า เรามีงบเท่าไหร่ต่อวัน เช่น เราบอกระบบไปว่า 500 บาทต่อวัน ระบบก็จะใช้งบโฆษณาไม่เกินนี้

3.    คิดเงินเมื่อบรรลุเป้าหมาย : โฆษณาออนไลน์ เช่น การโฆษณาบน Google และ Facebook สามารถกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของแคมเปญได้ และระบบจะคิดเงินเมื่อโฆษณาบรรลุวัตถุประสงค์แล้วเท่านั้น เช่น หากเราตั้งไว้ว่าต้องการให้คนคลิก ระบบก็จะคิดเงินต่อเมื่อมีคนคลิก (Pay Per Click, PPC) หรือ หากเราตั้งไว้ว่า ต้องการให้โฆษณาแสดงเยอะๆ คนเห็นเยอะๆ ระบบก็จะคิดเงินเป็นแบบ CPM (Cost per 1,000 Impressions) หรือ คิดเงินในทุกๆ การแสดงผล 1,000 ครั้ง (แต่หากแสดงไม่ถึง 1,000 ระบบก็คิดเงินนะ เช่น แสดง 500 ครั้ง ก็จะโดนเรียกเก็บ 50% ของ CPM)

4.    คล่องตัว : จะลงโฆษณา 14 วันแล้วหยุดก็ได้ จะเปลี่ยนโฆษณาเมื่อไหร่ก็ได้ หรือหาก COVID-19 ระบาดกระทันหัน จะพอสโฆษณาสัก 1 สัปดาห์ก็ได้ ต่างจากสื่ออื่นๆ ที่มีความลำบากในการปรับ เปลี่ยน ยกเลิก หรือขอหยุด


ในยุคนี้สิ่งที่เหนือกว่าการตลาดออนไลน์คือ OMO Marketing (Online Merged with Offline) หรือการผสมผสานระหว่างช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์เข้าด้วยกัน

แบ่งรูปแบบ การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) 4 รูปแบบหลักๆ

หากคุณยังเป็นมือใหม่ในเรื่อง Online Marketing อาจจะงงๆ ว่ามันมีเยอะแยะไปหมด ไม่รู้จะต้องไปที่ช่องทางไหนบ้าง .. ไม่ต้องห่วง เราจะมาสรุปให้เป็น 4 รูปแบบของการตลาดออนไลน์แบบเข้าใจง่ายๆ กัน

1. Search Marketing

การตลาดออนไลน์ในรูปแบบ “การค้นหา” ซึ่งหมายถึงการตลาดบน Search Engine อย่าง Google นั่นเอง โดยเป็นวิธีที่ช่วยให้ลูกค้าค้นหาแล้วเจอธุรกิจของคุณ เพราะคนที่เข้ามาค้นหาบน Google ล้วนมี Demand แล้ว พร้อมหาข้อมูลในการซื้อสินค้าหรือบริการ ดังนั้นหากธุรกิจของคุณไปขึ้นบน Google ใน Keyword ที่ตรงกับธุรกิจ ก็มีโอกาสสูงที่ผู้ใช้ที่เข้ามาค้นหาจะมาเป็นลูกค้า

โดยการที่จะให้ธุรกิจไปขึ้นบนหน้า Google ได้มี 2 วิธี

-    Google Ads คือ การลงโฆษณาผ่านระบบของ Google โดยจะเสียเงินแบบ PPC หรือเสียเมื่อมีคนคลิกเท่านั้น
-    SEO (Search Engine Optimization) คือ การใช้เทคนิคต่างๆ ในการ Optimize เว็บไซต์ เพื่อดันให้ไปแสดงในอันดับที่ดีขึ้น โดยการทำ SEO จะช่วยให้เว็บไซต์ขึ้นแสดงบนหน้าค้นหาแบบธรรมชาติ ไม่ได้เป็นการลงโฆษณา โดยหากคุณไม่มีความรู้อาจต้องให้ SEO Specialist เข้ามาช่วย

สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนทำการตลาดออนไลน์บน Google คือ หน้าเว็บไซต์ หรือหน้า Landing Page เพราะหากคนคลิกเข้ามาแล้วไม่เจอสิ่งที่กำลังค้นหา ก็อาจส่งผลให้ผู้ใช้ออกจากเว็บไซต์ทันที

การตลาดออนไลน์บน Search Engine ได้รับความนิยมสูงเพราะคนที่เข้ามาค้นหานั้นเริ่มรู้แล้วว่าตัวเองมีปัญหาอะไร ต้องการอะไร ทำให้มีโอกาศในการนำเสนอสินค้าและปิดการขายได้สูง


2. Social Media Marketing

การตลาดออนไลน์บน Social Media ที่เราคุ้นเคยกันคือ Facebook, Instagram, Tiktok, YouTube, Twitter และ LINE โดยจะเป็นการตลาดที่เน้นให้เข้าถึงผู้ใช้จำนวนมาก เน้นให้เกิดการรับรู้ สร้าง Engagement เนื่องจาก Social Media เป็นช่องทางที่มีคนใช้งานเยอะมาก

สิ่งที่ต้องเตรียมให้ดีสำหรับการทำการตลาดออนไลน์บน Social Media คือ “คอนเทนต์” ที่ต้องการนำเสนอ เพราะหากคุณนำเสนอคนเทนต์ที่ไม่น่าสนใจ ยิงโฆษณาไม่ตรงกลุ่ม ก็อาจเสียเงินเปล่าได้

การทำการตลาดบน Social Media ไม่ได้มีแค่การลงโฆษณาอย่างเดียว แต่จะรวมถึงการใช้ Influencer หรือ Blogger ต่างๆ ให้เข้ามาช่วยโปรโมทสินค้าก็ได้เช่นกัน โดยช่วงนี้เทรนด์ที่แบรดน์พลาดไม่ได้คือการ Live ขายของ ซึ่งสถิติของจีนในปี 2020 ในช่วงเทศกาล 11.11 มีมูลค่าสูงถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ


3. Email Marketing

Email Marketing คือการส่งอีเมลไปยังผู้ใช้ที่ลงทะเบียน หรือ Subscribe ธุรกิจของคุณ โดย เทคนิคของการทำ Email Marketing ต้องอย่าเน้น Hard Sell เพราะจะเป็นการก่อกวน และสุดท้ายเราจะโดยบล็อก หรือ Unsunscribe

การทำ Email Marketing ขั้นตอนแรกคือคุณต้องเก็บ Email จากลูกค้าไว้เยอะๆ และเอามาเก็บในลิสต์ จากนั้นก็ค่อยๆ ส่งอีเมล ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ หรือการแจ้งข่าวสารที่ลูกค้าอาจสนใจ ไม่ควรเน้นขายของมากเกินไป และไม่ควรส่งทุกวัน (เว้นแต่เนื้อหามีประโยชน์จริงๆ)


4. Web Banner

การโฆษณาแบนเนอร์บนเว็บไซต์ต่างๆ ถือเป็น Online Marketing อีกช่องทางหนึ่ง เช่น การโฆษณาบน เว็บข่าว Blog เป็นต้น การลงโฆษณาแบนเนอร์บนเว็บไซต์จะสามารถทำได้ 2 วิธี

    ติดต่อเว็บไซต์โดยตรง โดยสอบถามว่าราคาเท่าไหร่ต่อเดือน มีตำแหน่งอะไรบ้าง แล้วคุณก็เลือกตามนั้น
    ลงโฆษณาแบบ GDN (Google Display Network) หรือเป็นการลงผ่านระบบโฆษณาของ Google โดยแบนเนอร์ของคุณจะไปแสดงบนเว็บไซต์ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Google เช่น Thairath, Sanook หรือ Kapook เป็นต้น

เป้าหมายของโฆษณาแบนเนอร์ส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างการรับรู้ หรือ Awareness และกระตุ้นให้คนคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ โดยแนะนำให้เลือกเว็บไซต์ให้ตรงกับธุรกิจด้วย


คำศัพท์ที่ต้องรู้ก่อนเริ่มทำการตลาดออนไลน์ (Online Marketing)

ก่อนจะทำการตลาดออนไลน์คุณควรจะต้องเข้าใจคำศัพท์เหล่านี้ก่อน เพื่อที่จะสามารถวัดผลเบื้องต้นได้

    Campaign Objective : วัตถุประสงค์ในการทำแคมเปญการตลาดออนไลน์ เช่น ต้องการ Traffic เข้าเว็บไซต์ ต้องการยอดผู้ติดตาม ต้องการยอดวิว ต้องการยอดการลงทะเบียน เป็นต้น
    Click : คือ จำนวนการคลิก
    Impression : คือ จำนวนการแสดงผล (คน 1 คนเห็นโฆษณา 2 ครั้ง นับเป็น 2 Impressions)
    Reach : คือ จำนวนการเข้าถึง (คน 1 คนเห็นโฆษณา 2 ครั้ง นับเป็น 1 Reach)
    View : คือ จำนวนการรับชมวิดีโอ
    Lead : คือ จำนวนการติดต่อเข้ามา หรือลงทะเบียนพร้อมข้อมูลการติดต่อกลับ
    Engagement : คือการมีส่วนร่วมกับโพสต์ หรือโฆษณา เช่น คลิก แสดงความรู้สึก คอมเมนต์ เซฟ หรือแชร์ เป็นต้น
    Frequency : คือ จำนวนที่บอกว่า 1 คนเห็นโฆษณากี่ครั้ง เช่น คน 1 คนเห็นโฆษณา 3 ครั้ง จะมี Frequency = 3
    CTR (Click Through Rate) : คือ อัตราการคลิก (Click / Impression) x 100
    PPC (Pay Per Click) : คือ การโฆษณาแบบที่จ่ายเงินเมื่อมีการคลิกเกิดขึ้นเท่านั้น
    CPC (Cost Per Click) : คือ ค่าใช้จ่ายต่อ 1 คลิก
    CPM (Cost Per 1,000 Impression) : คือ ค่าใช้จ่ายต่อการแสดงโฆษณา 1,000 ครั้ง
    CPV (Cost Per View) : คือ ค่าใช้จ่ายต่อการรับชมวิดีโอ 1 วิว
    Conversion หรือ Goal : คือ จำนวนการกระทำตามเป้าหมายที่กำหนด (ที่เป็นเป้าหมายทางธุรกิจ) เช่น การ Add to Cart การสั่งซื้อ การโทรติดต่อ
    Conversion Rate : คือ อัตราการเกิด Conversion เทียบกับจำนวนคนคลิกเข้ามา (Conversion / Click) x 100
    Tracking Code : คือโค้ดที่ถูกสร้างจากระบบต่างๆ เช่น Google Analytics, Google Tag Manager หรือ Facebook Pixel ที่สามารถนำเข้ามาติดบนเว็บไซต์เพื่อเก็บข้อมูล หรือเอามาจับยอด Conversion บนเว็บไซต์
    Pixel : คือ โค้ดของทาง Facebook ที่ต้องเอาไปติดตั้งบนเว็บไซต์ เพื่อให้ระบบ Facebook เข้ามาเก็บข้อมูลผู้ใช้บนเว็บไซต์ และนำไปใช้ประโยชน์ในการทำโฆษณาบน Facebook ต่อ ไม่ว่าจะเป็นการ Remarketing หรือการวัด Conversion (Goal)
    Remarketing หรือ Retargeting : คือการยิงโฆษณาซ้ำไปยังผู้ใช้ที่เคย Engage กับธุรกิจของคุณก่อนหน้านี้ เช่น เคยเข้าชมเว็บไซต์ หรือเคยมีส่วนร่วมบน Facebook เป็นต้น
    Placement : คือ ตำแหน่งที่โฆษณาแสดง
    Influencer : คือ ผู้ที่มีคนติดตามจำนวนมากบนช่องทางออนไลน์ อาจจะมาจากการผลิตคอนเทนต์ที่น่าสนใจ และโดดเด่น จึงทำให้คนอื่นๆ อยากเข้ามาติดตามความเป็นไป Lifestyle หรือกิจกรรมของ Influencer คนนั้น
    Micro Influencer : คือ Influencer ที่มีฐานผู้ติดตามไม่สูงมาก โดยปกติจะอยู่ในช่วง 10,000-100,000 คน
    KOL (Key Opinion Leader) : คือ ผู้ที่มีอิทธิพลในด้านความคิด ความเชื่อ ที่มีผลต่อการตัดสินใจของคน โดย KOL อาจเป็นคนที่มีความน่าเชื่อถือ มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ
    ROAS (Return on Advertising Spend) : ROAS คือการคำนวณว่าโฆษณาที่ลงไปนั้นคุมทุนหรือเปล่า โดยคำนวณจาก [(ยอดขาย – ค่าโฆษณาที่ใช้) ÷ ค่าโฆษณาที่ใช้] x 100


การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คืออะไร ช่องทางไหนน่าสนใจพร้อมศัพท์ที่ต้องรู้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/

 

Tage: ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายที่ดินฟรี ลงประกาศขายคอนโดฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว ลงโฆษณาฟรี google